วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 /
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง น้ำฟ้าและดวงดาว เวลา 10 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชนิดของเมฆ เวลา 2 ชั่วโมง
โรงเรียนวัดเขาวัง ( แสง ช่วงสุวนิช )
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
สอนโดย นางสาวพุ่มพวง สังข์วาลวงศ์
สอนเมื่อวันที่ กุมภาพันธ์ 2553

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นที่เกี่ยวข้อง
สำรวจตรวจสอบ อภิปรายและอธิบายการเกิดเมฆ ชนิดของเมฆ การเกิดหมอก น้ำค้าง และลูกเห็บ รวมทั้งผลของปรากฏการณ์เหล่านี้

สาระสำคัญ
เมฆเป็นละอองน้ำเล็กๆ จำนวนมากที่แขวนลอยในอากาศระดับสูง ทำให้
มองเห็นเป็นก้อนสีขาวบนท้องฟ้า

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. นักเรียนสามารถบอกการเกิดเมฆได้
2. นักเรียนสามารถจำแนกชนิดของเมฆได้

สาระการเรียนรู้
- ชนิดของเมฆ

กระบวนการเรียนรู้
1. ครูและนักเรียนสนทนาถึงลักษณะของเมฆ การเกิดเมฆ และสีของเมฆ บนท้องฟ้า
2. ครูให้นักเรียนสังเกตลักษณะของเมฆ ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน วันละ 2 ครั้ง ได้แก่
ช่วงเช้า และช่วงบ่าย จดบันทึกลักษณะของเมฆ และสภาพอากาศที่เกิดขึ้นจริง ลงในใบงานที่ 1 เรื่อง พยากรณ์อากาศจากเมฆ แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น
3. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับ ชนิดของเมฆ โดยเปรียบเทียบชนิด
ของเมฆที่นักเรียนสังเกตได้ กับชนิดของเมฆในใบความรู้ว่า เหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร
4. ครูเล่านิทาน เรื่อง เมขลาล่อแก้ว ให้นักเรียนฟัง แล้วให้นักเรียนอาสาสมัคร ออกมาแสดงบทบาทสมมติประกอบนิทาน



5. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม และให้แต่ละกลุ่มช่วยกันเล่านิทานเกี่ยวกับลมฟ้าอากาศ ตามที่เคยได้ฟังมา แล้วแสดงบทบาทสมมติประกอบ โดยผลัดกันออกมาแสดงทีละกลุ่ม
6. ครูให้นักเรียนสังเกตลักษณะของท้องฟ้า ในวันที่ท้องฟ้าแจ่มใส และวันที่มีฝนตก เปรียบเทียบลักษณะของเมฆทั้ง 2 วัน พร้อมกับวาดภาพประกอบ ลงในใบงานที่ 2 เรื่อง ลักษณะของท้องฟ้า แล้วนำเสนอผลงานที่หน้าชั้น
7. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายและสรุปเกี่ยวกับ ลักษณะของท้องฟ้าในวันที่ท้องฟ้า
แจ่มใส และวันที่มีฝนตก มีลักษณะแตกต่างกันอย่างไร
8. ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้แล้วร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดเห็น

กระบวนการวัดผลประเมินผล
1. สังเกตการทำงานกลุ่ม
2.การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
3. การตรวจผลงาน
-แบบบันทึกผล
-แบบฝึกหัด
4. เจตคติทางวิทยาศาสตร์
- ความอยากรู้อยากเห็น
- ความซื่อสัตย์
- การยอมรับฟังความคิดเห็น

เครื่องมือประเมินผล
1. แบบประเมินการทำงานกลุ่ม
2. แบบประเมินการนำเสนอผลงานหน้าชั้น
3. แบบประเมินผลงาน
4. แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์

เกณฑ์การประเมิน
1. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%
2. การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%
3. การตรวจผลงาน ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%
4. เจตคติทางวิทยาศาสตร์ ผ่านเกณฑ์อย่างน้อย 60%


สื่อ / แหล่งการเรียนรู้
1. ใบงานที่ 1 เรื่อง พยากรณ์อากาศจากเมฆ
2. ใบงานที่ 2 เรื่อง ลักษณะของท้องฟ้า
3. ใบความรู้ เรื่อง เมฆ หมอก ฝน


บันทึกหลังสอน
................................................................................
.................................................................................
................................................................................
...............................................................................
..............................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น